วันพฤหัสบดีที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2560

บทที่ 6 การติดตั้งไดร์เวอร์และงานปรับแต่งพื้นฐาน

การติดตั้งไร์เวอร์ และงานปรับแต่งพื้นฐาน

โปรแกรมไดร์เวอร์

       การทำงานของคอมพิวเตอร์จะต้องมีการติดต่อกับอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ต่างๆเช่น อุปกรณ์อินพุต/เอาต์พุตพื้นฐานอย่างคีย์บอร์ดและจอภาพ ซึ่งระบบปฏิบัติการมักรู้จักและสามารถเข้าไปติดต่อเพื่อควบคุมการทำงานอุปกรณ์พื้นฐานเหล่านั้นได้  แต่อุปกรณ์ที่เชื่อมต่อเข้ากับระบบคอมพิวเตอร์จะรู้จักกับอุปกรณ์เหล่านั้นได้หมด ดังนั้นในการที่จะให้คอมพิวเตอร์สามารถเข้าไปจัดการ ควบคุมและสั่งงานอุปกรณ์เหล่านั้นได้ จึงจำเป็นต้องติดตั้งโปรแกรมไดรเวอร์
       ไดร์เวอร์ (Drivers) หมายถึงตัวขับอุปกรณ์ จัดเป็นโปรแกรมชนิดหนึ่ง ซึ่งปกติจะแนบมาพร้อมกับอุปกรณ์ภายในกล่องบรรจุภัณฑ์ เช่น ไดร์เวอร์เมนบอร์ด ไดรเวอร์เครื่องพิมพ์ และไดร์เวอร์เครื่องสแกนเนอร์ เป็นต้น หน้าที่หลักๆของไดร์เวอร์ก็คือ ช่วยให้ระบบปฏิบัติการสามารถเข้าไปติดต่อและจัดการกับอุปกรณ์ I/O เหล่านั้นได้

การตรวจสอบอุปกรณ์ใน Device Manager

       ระบบปฏิบัติการ Windows ได้จัดเตรียมศูนย์รวมของเหล่าอุปกรณ์ที่ได้เชื่อมต่อเข้ากับหน่วยระบบ ซึ่งเรียกว่า Device Manager ดังนั้น Device Manager เป็นส่วนสำคัญในการจัดการกับอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ต่างๆ ที่ติดตั้งอยู่ในคอมพิวเตอร์ กล่าวคือเราสามารถเข้าไปยัง  Device Manager เพื่อเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าอุปกรณ์ตามทางเลือกต่างๆ รวมถึงการเปิด/ปิดใช้งานอุปกรณ์ และการตรวจสอบการขัดแย้งกันของตัวอุปกรณ์ เป็นต้น โดยรายการฮาร์ดแวร์ต่างๆทั้งหมดในคอมพิวเตอร์ สามารถได้รับการปรับตั้งค่าผ่านศูนย์กลางแห่งนี้


ขั้นตอนการเข้าไปยัง Device Manager 


1. ดับเบิ้ลคลิกที่ ไอคอน This PC




2. คลิกที่  System Properties




3. คลิก Divice Manager





จะได้หน้า Device Manager ขึ้นมา




ภายในศูนย์ควบคุมของ Device Manager จะเต็มไปด้วยอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ต่างๆที่ได้เชื่อมต่อเข้ากับระบบ ในกรณีที่ระบบไม่รู้จักอุปกรณ์ใด จะทำเครื่องหมาย ? ดังนั้นจึงต้องติดตั้งไดรเวอร์หรือปรับตั้งค่าอุปกรณ์นั้นให้สามารถใช้งานได้


ขั้นตอนการติดตั้งโปรแกรมไดรเวอร์เมนบอร์ด

1. นำแผ่นไดร์เวอร์เข้าไปยังเครื่องขับ  แล้วคลิกที่เมนู Run เพื่อสั่งงาน

อ้างอิงจากหนังสือเรียนระบบปฏิบัติการ หน้าที่ 168

2. จะปรากฎเมนูติดตั้งมาให้  คลิกที่เมนู Chipset Driver (การติดตั้งไดรเวอร์ชิปเซ็ต)

อ้างอิงจากหนังสือเรียนระบบปฏิบัติการ หน้าที่ 169

3. คลิกปุ่ม Install เพื่อติดตั้ง

อ้างอิงจากหนังสือเรียนระบบปฏิบัติการ หน้าที่ 169


4. เลือกติดตั้งแบบเร็ว โดยคลิกที่  Express แล้วตามด้วยปุ่ม Next

อ้างอิงจากหนังสือเรียนระบบปฏิบัติการ หน้าที่ 169


5. คลิกปุ่ม Accept เพื่อยืนยันข้อตกลง เกี่ยวกับลิขสิทธิ์

อ้างอิงจากหนังสือเรียนระบบปฏิบัติการ หน้าที่ 170


6.ภาพแสดงโปรแกรมกำลังดำเนินการ

อ้างอิงจากหนังสือเรียนระบบปฏิบัติการ หน้าที่ 170


7. เมื่อเสร็จสมบูรณ์คลิก Finish 

อ้างอิงจากหนังสือเรียนระบบปฏิบัติการ หน้าที่ 170


เมื่อเสร็จจะขึ้น ถามว่าต้องการบูตเครื่องใหม่ไหม ให้คลิก Yes แล้วรอ .......

การปรับตั้งค่าความละเอียดของจอภาพ

 ในปัจจุบันจอภาพที่ใช้งานล้วนเป็นแบบ LCD ทั้งสิ้น มีทั้งสัดส่วนแบบปกติคือ  (4:3) กับจอภาพแบบกว้าง (16:9) ถ้าหากเราลงไดร์เวอร์แล้ว ระบบปฏิบัติการจะทำการตั้งค่าความละเอียดหน้าจอเราให้เหมาะสมภายใต้ขีดความสามารถสูงสุดโดยอัตโนมัติ โดยที่เราไม่จำเป็นต้องเข้าไปตั้งค่าแต่อย่างใด แต่ถ้าหากเราต้องการปรับค่าก็สามารถเข้าไปตั้งค่าได้เช่นกัน   โดยมีขั้นตอนดังนี้

1. คลิกเมาส์ขวาบนที่ว่างหน้าเดสก์ท็อป จากนั้นเลือกรายการ Screen resolution




2. ตรงหัวข้อ Resolution  ให้คลิกที่ลิสต์บ็อกซ์ จะปรากฏค่าความละเอียดต่างๆ ซึ่งตามปกติจะถูกตั้งค่าแบบเหมาะสมอยู่แล้ว



3. หากคลิกที่ Advanced setting ที่แท็บ Moniter จะปรากฏค่า Refresh Rate ซึ่งไม่จำเป็นต้องตั้งค่าใดๆ







ตารางแสดงมาตรฐานความละเอียดของจอภาพ


การเพิ่มไอคอนสำคัญๆ ไว้บนเดสก์ท็อป

ภายหลังจากการติดตั้งระบบปฏิบัติการแล้วบนเดสก์ท็อปจะมีเพียงไม่กี่ไอคอนเท่านั้น ดังนั้นหากเราจำเป็นต้องนำไอคอนสำคัญๆที่เราใช้งานบ่อยมาวางบนเดสก์ท็อป สามารถทำได้ตามขั้นตอนดังนี้

1. คลิกเมาส์ขวาบนพื้นที่ว่างบนหน้าเดสก์ท็อป แล้วเลือก Personalize





2. คลิกที่รายการ Change desktop icons




3. คลิกเครื่องหมายถูกตรง เช็กบ็อกซ์ หน้าไอคอนตามที่ต้องการ แล้วคลิกปุ่ม OK



เพียงเท่านี้ไอคอนต่างๆที่เราต้องการก็จะมาอยู่ที่หน้าเดสก์ท็อป




การเปลี่ยนภาพพื้นหลัง (Desktop Background)

บนเดสก์ท็อป ยังสามารถแต่งภาพพื้นหลังให้สวยงามได้น่าใช้ตามความต้องการของผู้ใช้ของแต่ละเครื่อง โดยภาพที่จะนำมาเป็นพื้นหลัง สามารถเลือกได้จากแกลลอรี่ที่จัดเก็บรูปภาพไว้ เช่น ภูเขา วิวธรรมชาติ ดอกไม้ เป็นต้น หรืออาจเป็นรูปที่ถ่ายด้วยตนเองมาตั้งก็ได้  โดยมีขั้นตอนดังนี้

1. คลิกเมาส์ขวาแล้วเลือกที่ Personalize 




2. ที่หน้าต่าง Personalize ที่ด้านล่างให้คลิกที่  Background



3. คลิกเครื่องหมายถูกในเช็คบ็อกซ์ของรูปภาพที่ต้องการ โดยหากเลือกหลายภาพจะมีเวลาเปลี่ยนตามที่กำหนดหรือจะกำหนดเองก็ได้เช่นกัน ถ้าหากต้องการรูปภาพจากไฟล์อื่นให้กดที่ Browse 



การพักหน้าจอด้วยภาพเคลื่อนไหว

ในกรณีได้พักเครื่องไว้โดยไม่ได้ปิดเครื่อง หากภาพเดิมๆค้างอยู่เป็นเวลานานๆอาจทำให้จอภาพเสื่อมลงได้ แต่อย่างไรก็ตามผลกระทบดังกล่าวจะมีผลต่อรุ่นเก่าๆคือจอภาพ CRT ในขณะที่จอภาพแบบ LCD ใช้เทคโนโลยีต่างกัน การเปิดไว้นานๆไม่ได้ทำให้จอภาพเสื่อมลงแต่จะเป็นการลดอายุการใช้งานของหลอดฟลูออเรสต์เซนต์ลงนั่นเอง  ซึ่งทางที่ดี หากไม่มีการใช้งานให้ตั้งค่าปิดหน้าจออัตโนมัติ หรืออาจปิดสวิตซ์จอภาพด้วยตนเอง ซึ่งถือเป็นการประหยัดพลังงาน พร้อมกับยืดอายุการใช้งานอีกด้วย  มีวิธีการตั้งค่าดังกล่าว ดังนี้

1. ที่หน้าต่าง Personalize ตำแหน่งขวาล่างคลิกที่ Screen Saver



2. คลิกที่ลิสต์บ็อกเพื่อเลือก Screen Saver ในรูปแบบที่ต้องการ




3. โดยหากต้องการตั้งค่าหน่วงเวลาเพื่อปิดหน้าจออัตโนมัติ สามารถตั้งได้หน่วยเป็น นาที





แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 6

ตอนที่ 2 จงตอบคำถามต่อไปนี้

1. โปรแกรมไดร์เวอร์คืออะไร มีบทบาทสำคัญอย่างไร  จงอธิบาย
ตอบ = ไดร์เวอร์ (Driver) หมายถึงตัวขับอุปกรณ์ จัดเป็นโปรแกรมชนิดหนึ่ง ซึ่งปกติจะแนบมาพร้อมกับอุปกรณ์ภายในกล่องบรรจุภัณฑ์ เช่น ไดร์เวอร์เมนบอร์ด ไดร์เวอร์เครื่องพิมพ์ เป็นต้น หน้าที่หลักๆของไดร์เวอร์คือช่วยให้ระบบปฏิบัติการสามารถเข้าไปติดต่อและจัดการกับอุปกรณ์อินพุตเอ้าท์พุต ได้ การติดตั้งโปรแกรมไดร์เวอร์นั้นเพื่อให้ระบบปฏิบัติการสามารถเข้าไปติดต่อกับอุปกรณ์ I/O ได้นั่นเอง

2. มานะบอกกับมีนาว่า ฉันติดตั้ง Windows แล้วไม่เห็นจะต้องติดตั้งไดร์เวอร์อะไรให้ยุ่งยากเลยคอมพิวเตอร์ก็ใช้งานอุปกรณ์ต่างๆได้ตามปกติ หากนักเรียนเป็นมีนา จะอธิบายให้มานะเข้าใจได้อย่างไร
ตอบ = อธิบายให้มานะฟังว่า “ถ้าเธอไม่ติดตั้งโปรแกรมไดร์เวอร์ลงไปในเครื่องคอมพิวเตอร์ของเธอด้วย เธอก็จะไม่สามารถที่จะติดต่อกับอุปกรณ์อินพุท หรือ เอ้าต์พุทต่างๆได้ เพราะฉะนั้นเธอจำเป็นจะต้องติดตั้งโปรแกรมไดร์เวอร์ลงไปในเครื่องเพราะมันเป็นสิ่งที่สำคัญที่ทำให้คอมพิวเตอร์ติดต่อกับอุปกรณ์ I/O ได้นั่นเอง ”

3. ในระบบปฏิบัติการวินโดวส์ ตรงส่วนใดที่ใช้เป็นศูนย์รวมของเหล่าอุปกรณ์ที่มีการเชื่อมต่อเข้ากับหน่วยระบบ
ตอบ =  Device Manager เป็นส่วนสำคัญในการจัดการอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ต่างๆ ที่ติดตั้งอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา

4. การปรับตั้งค่า Refresh Rate บนจอภาพ LCD มีความจำเป็นหรือไม่ อย่างไร จงอธิบาย
ตอบ = โดยปกติแล้วหลังจากการติดตั้งไดร์เวอร์จอภาพ ระบบปฏิบัติการจะปรับตั้งค่าความละเอียดของจอภาพภายใต้ขีดความสามารถสูงสุดอยู่แล้ว ดังนั้นการปรับตั้งค่าขึ้นอยู่กับผู้ใช้แต่ละคน

5. การตั้ง Screen Saver บนจอภาพ LCD มีส่วนช่วยถนอมจอภาพโดยตรงหรือไม่ อย่างไรจงอธิบาย
ตอบ =  มีส่วนช่วยเพราะ การทำเช่นนี้เป็นการตั้งค่าเพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์ปิดจออัตโนมัติเมื่อไม่ได้รับการตอบสนองจากผู้ใช้ และการทำเช่นนี้ เป็นการยืดอายุการใช้งานของจอภาพอีกด้วย ถึงแม้ว่าในปัจจุบันจอภาพแบบ LCD มีอายุการใช้งานยาวนานกว่า 50000 ชั่วโมง แต่ทางที่ดีแล้ว การตั้งค่านี้ ก็มีความจำเป็นที่จะต้องทำเช่นกัน








อ้างอิง

หนังสือเรียนวิชา ระบบปฏิบัติการ  รหัสวิชา 2128-2002 ประเภทวิชาอุตสาหกรรม ลำดับที่116 



เนื้อหาใดๆ ที่นำมาลงบล็อกนี้ เป็นเพียงการนำเสนออาจารย์ผู้สอนเท่านั้นไม่มีเจตนาที่จะล่วงละเมิดแต่อย่างใด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น