ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และระบบปฏิบัติการ
ความหมายของคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์คืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถประมวลผลข้อมูลได้โดยอัตโนมัติตามโปรแกรมที่มนุษย์สั่ง นอกจากนี้ยังสามารถรับข้อมูลภายนอกและนำไปประมวลผลออกมาเป็นสารสนเทศตามที่ต้องการประเภทของคอมพิวเตอร์
1. ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์
เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ และมีขีดความสามารถสูงที่สุดในบรรดาคอมพิวเตอร์ทั้งหลาย ภายในสามารถรองรับโปรเซสเซอร์ได้นับพันตัว ทำให้มีพลังการประมวลผลสูงมา เหมาะกับงานคำนวณที่มีความซับซ้อนสูงอย่างงานด้านทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ การพยากรณ์ และงานวิจัยนิวเคลียร์ ขีดความสามารถของซุปเปอร์คอมพิวเตอร์สูงมากถึงขนาดรับคำสั่งได้มากถึงหลายล้านคำสั่งต่อวินาที
2. เมนเฟรมคอมพิวเตอร์
เป็นคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ รองจากซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ นิยมนำมาใช้งานตามภาคธุรกิจขนาดใหญ่ เช่นธนาคาร บริษัทประกันภัย และสายการบิน เมนเฟรมคอมพิวเตอร์สามารถนำมาใช้ประมวลผลแบบรวมศูนย์ ด้วยการจัดตั้งเป็นเครื่องแม่ข่ายเพื่อบริการแก่เครื่องลูกข่ายที่มีการเชื่อมต่อนับพันเครื่องสำหรับความเร็วในการประมวลผลของเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ จะมีความเร็วในระดับพันล้านคำสั่งต่อวินาที
3. มินิคอมพิวเตอร์
เป็นคอมพิวเตอร์ขนาดกลาง มีขีดความสามารถต่ำกว่าเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ มักนิยมนำมาใช้กับธุรกิจขนาดกลางทั่วไป เช่น โรงพยาบาล โรงแรม และตามโรงงานอุตสาหกรรม แต่ในปัจจุบันคอมพิวเตอร์เมนเฟรมมีหลายขนาดด้วยกัน โดยเฉพาะเมนเฟรมขนาดเล็กจึงทำให้ชื่อ มินิ กลายเป็นอดีตไป และคอมพิวเตอร์แบบเมนเฟรมยังได้รับความนิยมสูงกว่าระดับมินิ อีกด้วย
4. เวิร์กสเตชั่น
รูปลักษณ์ภายนอกที่เรียกกันว่าเครื่องสถานีวิศวกรรมนั้นแลดูคล้ายกับเครื่องพีซีแต่เวิร์กสเตชั่นไม่ใช่พีซีความแตกต่างที่เห็นได้ชัดคือ สมรรถนะหรือขีดความสามารถสำหรับเครื่องเวิร์กสเตชั่นจะประมวลผลได้เร็วมาก เหมาะกับงานคำนวณทางวิศวกรรม งานออกแบบ งานกราฟฟิค และงานทางด้านการแพทย์ ระบบปฏิบัติการที่นิยมใช้ในเครื่องเวิร์กสเตชั่นนั้นคือ Unix
5. ไมโครคอมพิวเตอร์
เป็นคอมพิวเตอร์ระดับเล็กที่สุดเมื่อเทียบกับคอมพิวเตอร์ระดับต่างๆตามที่กล่าวมา สามารถนำมาวางไว้บนโต๊ะเพื่อใช้งานได้ นอกจากนี้ ยังสามารถนำมาใช้งานส่วนบุคคลหรือใช้งานในระดับองค์กรได้ ที่สำคัญมีโปรแกรมประยุกต์ต่างๆมากมายให้เลือกใช้งานตามลักษณะงาน อีกทั้งยังมีราคาถูก ทำให้คนทั่วไปสามารถหาซื้อได้เพื่อเป็นเจ้าของได้ไม่ยาก ในปัจจุบันไมโครคอมพิวเตอร์จึงได้รับความนิยมมากจนจัดอยู่ในกลุ่มคอมพิวเตอร์ที่มียอดจำหน่ายสูงสุด
องค์ประกอบพื้นฐานของคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วย
1. ฮาร์ดแวร์
หมายถึงตัวเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง มีลักษณะทางกายภาพที่เราสามารถมองเห็นและสัมผัสได้ เช่น แผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ชิป และชิ้นส่วนประกอบเชิงกลไกต่างๆ ที่จะทำงานประสานงานกันเพื่อให้เกิดการประมวลผล การจัดเก็บ และการเผยแพร่ข่าวสาร ฮาร์ดแวร์ในระบบคอมพิวเตอร์ยังถูกแบ่งออกอีกเป็น 5 ประเภทด้วยกัน ประกอบด้วย
1.1 อุปกรณ์นำเข้าข้อมูล (Input Device) เช่น คีย์บอร์ด เม้าส์ เครื่องสแกนเนอร์ และไมโครโฟน เป็นต้น
1.2 หน่วยความจำหลัก (Main Memory) เช่น หน่วยความจำแรม หน่วยความจำรอม เป็นต้น
1.3 หน่วยประมวลผลกลาง (Central Orocessor Units : CPU) จัดเป็นหน่วยที่สำคัญที่สุดของคอมพิวเตอร์ ทำหน้าที่รับข้อมูลจากหน่วยรับข้อมูล แล้วนำมาประมวลผลตามคำสั่ง เพื่อส่งไปยังหน่วยแสดงผล
1.4 อุปกรณ์แสดงผล (Output Devices) เช่น จอภาพ เครื่องพิมพ์ และลำโพง เป็นต้น
1.5 หน่วยเก็บข้อมูลภายนอก (External Storage) คืออุปกรณ์ที่นำมาใช้บันทึกหรือจัดเก็บข้อมูล/โปรแกรม เพื่อสำรองข้อมูลเก็บไว้ เช่น ฮาร์ดดิสก์ เทป แผ่นซีดี/วีดีโอิเป็นต้น
2. ซอฟต์แวร์ (Software)
หมายถึงโปรแกรมชุดคำสั่งที่บอกคอมพิวเตอร์ว่าต้องทำอะไร โดยตัวโปรแกรมจะถูกเขียนคำสั่งคอมพิวเตอร์ จากนั้นจะถูกแปลภาษาเครื่องที่คอมพิวเตอร์เข้าใจ คอมพิวเตอร์ก็จะนำเอาคำสั่งนี้ไปควบคุมอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ให้ทำงาน ซอฟต์แวร์ถูกแบ่งออกเป็นสองประเภท คือ
2.1 ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software) เช่น Windows , Unix และ Linux
2.2 ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software) เช่น ไมโครซอฟต์ออฟฟิศ โปรแกรมบัญชี โปรแกรมเงินเดือน โปรกแรมควบคุมสินค้าคงคลัง
3. ข้อมูล ( Data)
ข้อมูลในที่นี้หมายถึง ข้อมูลดิบที่เก็บรายละเอียดเกี่ยวกับความจริงทั้งหลาย อาจอยู่ในรูปของตัวเลข หรือรูปภาพ เช่น ชื่อ ที่อยู่ อายุ ระดับชั้น เป็นต้น ซึ่งเป็นข้อมูลที่ยังไม่ผ่านการประมวลผล
4. กระบวนการ (Procedures)
คือขั้นตอนการทำงานเพื่อให้ผู้ใช้รับทราบว่า จะมีวิธีการจัดการหรือปฏิบัติการกับข้อมูงเหล่านั้นอย่างไร ต้องทำอะไรบ้าง เพื่อดำเนินเก็บข้อมูลที่ได้มา
5. บุคลากร (People)
หมายถึงบุคลากรทางคอมพิวเตอร์ เช่นบุคลากรทำหน้าที่ออกแบบและพัฒนาโปรแกรม ก็คือ นักวิเคราะห์ระบบและโปรแกรมเมอร์
คุณสมบัติของคอมพิวเตอร์ มีดังนี้
1. ความเร็ว
คอมพิวเตอร์ทำงานได้เร็วมาก สามารถทำงานให้สำเร็จได้ในพริบตาซึ่งความรวดเร็วในการทำงานของคอมพิวเตอร์มีผลต่อธุรกิจในปัจจจุบันอย่างมาก ทั้งในด้านลูกค้า และผุ้ให้บริการ
2. ความน่าเชื่อถือ
การทำงานของคอมพิวเตอร์มีความน่าเชื่อถือสูงมาก มีอัตราการผิดพลาดต่ำ ผิดจากมนุษย์ เมื่อมีการทำงานหลายๆชั่วโมง ร่างกายก็จะมีการอ่อนล้า
3. ความเที่ยงตรงและแม่นยำ
คอมพิวเตอร์สามารถประมวลผลข้อมูล และคำนวณผลลัพธ์ได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ กล่าวคือ หากมีข้อมูลชุดเดียวกัน หากนำมาผ่านกระบวนการประมวลผลครั้งแล้วครั้งเล่าก็จะได้ผลลัพธ์เหมือนเดิม
4. จัดเก็บข้อมูลได้ปริมาณมาก
เทคโนโลยีในยุคนี้ล้ำไปมาก ฮาร์ดิสก์ตัวหนึ่งๆ สามารถจุข้อมูลได้มากถึงระดับเทอราไบต์ (TB) แล้ว เพื่อรองรับข้อมูลที่ใช้ในปัจจุบันที่มีความจุสูง อย่างเช่นข้อมูลมัลติมีเดีย ข้อมูลสำคัญต่างๆ
5. ความสามารถในการสื่อสารและเครือข่าย
ในปัจจุบันนอกจากจำนำมาใช้งานส่วนตัวแล้ว ยังสามารถเชื่อมต่อแบบเครือข่ายได้ เช่น เครือข่ายแลน เพื่อแบ่งปันใช้งานทรัพยากรบนเครือข่าย
สื่อบันทึกข้อมูล ประกอบด้วย
1. สื่อบันทึกข้อมูลแบบแม่เหล็ก เช่น เทปแม่เหล็ก ดิสเกตต์ และฮาร์ดดิสก์ เป็นต้น2. สื่อบันทึกข้อมูลแบบแสง เช่น CD-ROM , DVD-ROM , BD-ROM เป็นต้น
3. สื่อบันทึกข้อมูลแบบแฟลช เช่น ฮาร์ดดิสก์แบบ SSD , USB Flash Drive
อุปกรณ์ต่อพ่วง แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้
1. อุปกรณ์ต่อพ่วงเพื่อการป้อนข้อมูลเข้าสู่คอมพิวเตอร์ เช่น คีย์บอร์ด เม้าส์ ไมโครโฟน สแกนเนอร์
2. อุปกรณ์ต่อพ่วงเพื่อการแสดงผลข้อมูล เช่น จอภาพ จอภาพซีอาร์ที จอภาพแอลอีดี ลำโพง เครื่องพิมพ์ เป็นต้น
3. อุปกรณ์ต่อพ่วงเพื่อการจัดเก็บข้อมูล
3. อุปกรณ์ต่อพ่วงเพื่อการจัดเก็บข้อมูล
ความหมายของระบบปฏิบัติการ
ระบบปฏิบัติการ (Operating System) คือโปรแกรมที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างผู้ใช้คอมพิวเตอร์กับเครื่องคอมพิวเตอร์ จุดประสงค์ของระบบปฏิบัติการก็คือจะกำหนดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับผู้ใช้ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถปฏิบัติงานกับคอมพิวเตอร์ได้อย่างสะดวกและเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
วิวัฒนาการของระบบปฏิบัติการ
สำหรับในอดีตที่ได้มีการพัฒนาโปรแกรมระบบปฏิบัติการรุ่นต่างๆ เป็นต้นมา จึงทำให้เกิดระบบปฏิบัติการในยุคต่างๆ ดังต่อไปนี้
1. ระบบปฏิบัติการรรุ่นที่ 1
เป็นระบบปฏิบัติการในช่วงปี ค.ศ. 1945-1955 ซึ่งคอมพิวเตอร์ในยุคนั้นไม่มีระบบปฏิบัติการใช้งาน ดังนั้นเมื่อต้องการสั่งการใช้งาน ผู้ควบคุมจะต้องป้อนคำสั่งภาษาเครื่องเข้าไปก่อนเพื่อควบคุมการทำงานด้วยตัวเอง
2. ระบบปฏิบัติการรุ่นที่ 2
เป็นระบบปฏิบัติการในช่วงต้นปี ค.ศ. 1960 ที่รองรับ การประมวลผลแบบกลุ่ม โดยการประมวลผลแบบกลุ่มคือ การวบรวมงานทั้งหลายมารวมกลุ่มเข้าด้วยกัน จากนั้นจะป้อนข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานทีเดียวจนกระทั่งสำเร็จ
3. ระบบปฏิบัติการรุ่นที่ 3
อยู่ในช่วงกลางปี ค.ศ. 1960 ถึงกลางปี 1970 ได้รับการพัฒนาขีดความสามารถขึ้นไปอีก โดยสามารถรองรับการทำงานแบบ มัลติโปรมแกรมมิ่ง
4. ระบบปฏิบติการรุ่นที่ 4
อยู่ในช่วงกลางปี ค.ศ. 1970 ถึงปัจจุบันซึ่งเป็นยุคที่สามารถสร้างวงจร หรือชิปขนาดเล็กที่ภายในสามาถบรรจุจำนวนทรานซิสเตอร์มหาศาลได้มากมายก่อให้เกิดไมโครคอมพิวเตอร์ ต่อมาถูกเรียกว่าซีพีคอมพิวเตอร์ถูกนำมาใช้งานอย่างแพร่หลาย มีการพัฒนาระบบปฏิบัติการที่นำมาใช้บนเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ เช่น MS-DOS ต่อมาในปี ค.ศ. 1990 ได้เกิดระบบปฏิบัติการวินโดวส์ (Windows) ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการที่รองรับการใช้งานแบบมัลติทาสกิ้ง และระบบปฏิบัติการวินโดวส์ก็เข้ามาครอบครองตลาดระบบปฏิบัติการเครื่องพีซีคอมพิวเตอร์ตั้งแต่นั้นมา ทั้งนี้ ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ก็ได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เช่น Windows 3.11, Windows 95 , Windows 98 , Windows 2000 , Windows ME , Windows XP , Windows Vista , Windows 7 , Windows 8 และล่าสุด Windows 10
หน้าที่ของระบบปฏิบัติการ
ระบบปฏิบัติการมีหน้าที่มากมายในการควบคุมเครื่องเพื่อให้ระบบสามารถดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ ดังนั้นในที่นี้จึงกล่าวหน้าที่หลักๆ ดังนี้
1. การติดต่อกับผู้ใช้
หมายถึงยูสเซอร์อินเตอร์เฟซ ที่ผู้ใช้สามารถติดต่อหรือโต้ตอบเพื่อสั่งการให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามที่ต้องการได้ ด้วยการสั่งผ่านคีย์บอร์
2. การควบคุมดูแลอุปกรณ์
อุปกรณ์ต่างๆ ในระบบคอมพิวเตอร์มีจำนวนมากมายซึ่งระบบปฏบัติการจะต้องเข้าไปดูแลและควบคุมอุปกรณ์เหล่านั้นอย่างเป็นระบบ เช่น รูทีนควบคุมดิสก์ รูทีนควบคุมจอภาพ รูทีนควบคุมเครื่องพิมพ์ เป็นต้น
3. การจัดสรรทรัพยากร
คอมพิวเตอร์จะมีทรัพยากรต่างๆ ไว้คอยบริการแก่ผู้ใช้ ไม่ว่าจะเป็น ซีพียู หน่วยความจำหลัก อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล และอุปกรณ์อินพุต / เอาท์พุต และด้วยทรัพยากรอย่างจำกัด จึงต้องได้รับการจัดสรรอย่างมีระบบเพื่อการบริการแก่ผู้ใช้รายต่างๆ ให้เป็นไปอย่างครบถ้วน และมีประสิทธิภาพ
อ้างอิง
หนังสือเรียนวิชาการใช้งานระบบปฏิบัติการ รหัส 2128-2002 ประเภทวิชาอุตสาหกรรม สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ ลำดับที่ 116
รูปภาพซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ http://satawat.com/wp-content/uploads/2016/07/
รูปภาพเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ https://tdeeprasai.files.wordpress.com/2014/05/ibm-launches-mainframe-computer-gears-up-for-hybrid-cpus-2.jpg
รูปภาพมินิคอมพิวเตอร์ http://oshicomputer.com/image/cache/data/pc-acer/X2611G/SET-900x900.jpg
รูปภาพเวิร์กสเตชัน http://regmedia.co.uk/2011/04/11/z210_cmt_large.jpg
รูปภาพไมโครคอมพิวเตอร์ https://sites.google.com/site/hardwaersahrabsux/_/rsrc/1377785003187/home
/mikhor-khxmphiwtexr-microcomputer/PC_2010s.jpg
/mikhor-khxmphiwtexr-microcomputer/PC_2010s.jpg
รูปภาพฮาร์ดแวร์ http://3.bp.blogspot.com/_isyznCb8FoU/TM491XDNLxI/AAAAAAAAAEo/
z8OxfJ42Ok4/s1600/123.ng
รูปภาพซอฟต์แวร์ https://biology1993.files.wordpress.com/2013/09/2013-09-02_090450.png
เนื้อหาใดๆ ที่นำมาลงบล็อกนี้ เป็นเพียงการนำเสนออาจารย์ผู้สอนเท่านั้นไม่มีเจตนาที่จะล่วงละเมิดแต่อย่างใด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น